เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 2. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้
แล

หมวดที่ 3
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8 คือ

1. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ 2. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
3. ไม่ทำการไต่สวน 4. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
5. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น 6. ไม่โจทภิกษุอื่น
7. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ 8. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8 เหล่านี้
แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ

วิธีระงับนิยสกรรมและกรรมวาจา
[20] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุเสยยสกะพึง
เข้าไปหา สงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง
กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับนิยสกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ 3 ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยกะ นี่เป็นญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :37 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 2. นิยสกรรม
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยส
กรรมแก่ภิกษุเสยยสกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
เสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอ
ระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่าน
รูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
เสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้
ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
นิยสกรรม สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุเสยยสกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
นิยสกรรมที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :38 }